วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากครอบคลุมงานทุกด้านของสถาบันศึกษาตั้งแต่การบริหาร จัดการ หลักสูตรและการเรียนการสอน การรู้จักใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้องและเหมาะสมนั้นมีผลเป็นอันมากที่จะช่วยพัฒนาคน สังคม และประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้า ซึ่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ดีต่อการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร ใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เราทำงานได้รวดเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าประเทศใดจะพัฒนาและเจริญก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด ในสังคมของทุกประเทศก็ยังคงประกอบด้วยประชากรที่มีความหลากหลายแตกต่างกันออกไป ทั้งที่มีคุณภาพดีและที่ด้อยคุณภาพ ที่มีความสมบูรณ์และที่บกพร่องทางร่างกายและจิตใจ และสติปัญญา บุคคลที่มีบกพร่องเหล่านี้ เราเรียกว่าคนพิการ ซึ่งเป็นบุคคลที่ด้อยโอกาสทางสังคม เนื่องจากพวกเขามักจะถูกกีดกันออกจากสังคม ต้องคอยเก็บตัวหลบหน้าสังคม เป็นคนไร้ความสามารถไม่มีประโยชน์ เพราะพวกเขาไม่เหมือนกับคนทั่วไป แต่มีใครรู้บ้างว่าบุคคลเหล่านี้ อยากจะทำประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ และคนเหล่านี้ก็สามารถที่จะเรียนรู้ในเรื่องต่างๆได้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก็เป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้ ทำให้พวกเขามีการพัฒนาความสามารถที่จะทำสิ่งต่างๆ ได้เหมือนคนทั่วไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้เข้าใจในตัวเขา ซึ่งจะทำให้เขามีกำลังใจ มีแรงบันดาลใจให้เขาดำเนินชีวิตอยู่ต่อไป และบุคคลเหล่านี้ก็จะมีความสามารถต่อสังคมและประเทศชาติ มีประโยชน์เหมือคนอื่นๆ ซึ่งเทคโนโลยีมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพราะถือว่าเป็นสิ่งที่จะช่วยในการพัฒนา เพราะใช้ในการฝึกฝนและเรียนรู้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้และทำประโยชน์ต่างๆ กันอย่างแพร่หลายซึ่งถือว่าเป็นผลดีอย่ามากต่อการพัฒนาของบุคคลและสังคมในปัจจุบัน เด็กปฐมวัย การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน ประเทศไทยได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสอนเป็นเวลานานพอสมควร ในยุคแรกของการใช้ คอมพิวเตอร์กับเด็กนั้นยังไม่เป็นที่นิยมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ยังเป็นการแสดงออกเฉพาะที่เป็นตัวหนังสือ บางโปรแกรมอาจมีภาพกราฟฟิค ประกอบบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่น่าสนใจแม้ในต่างประเทศ ก็ไม่นิยมต่อมา เมื่อฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์พัฒนามากขึ้น จึงเป็นที่นิยมโดยแพร่หลาย คอมพิวเตอร์ สำหรับเด็กปฐมวัยจะมีซอฟแวร์ที่เรียกว่า “Edutainment มาจากคำว่า Education (การศึกษา) บวกกับคำว่า Entertainment (ความบันเทิง)” ซอฟแวร์แบบนี้เมื่อเวลาเด็กใช้เรียน เด็กจะได้ทั้งการ เรียนรู้กับความบันเทิง ทั้งนี้โดยจุดประสงค์หลักของการผลิตซอฟแวร์สำหรับเด็ก จะไม่เน้นเด็กให้เกิด การเรียนรู้เฉพาะเนื้อหาอย่างเดียวแต่ต้องสนุกกับการเรียนนั้น ด้วยลักษณะของซอฟแวร์ที่เป็นสื่อผสม (Multimedia) หมายถึง การใช้สื่อหลายๆแบบประกอบกันมีทั้งข้อความ (text) ภาพนิ่ง ภาพที่เคลื่อนไหวได้ มีเสียง ในการใช้ซอฟแวร์ที่เป็นสื่อผสมนี้จะต้องมีคอมพิวเตอร์ที่เป็นสื่อผสมด้วย กล่าวคือ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีซีดีรอมไดรฟ์ (CD-Rom drive) และในเครื่องต้องมีที่เล่นเสียง เล่นภาพด้วยนอกจากนี้ซอฟแวร์โดยทั่วไป จะบรรจุอยู่ในแผ่นซีดี หรือ คอมแพคดิส(Compact disc) ซึ่งมีบริษัทหลายบริษัททั้งในประเทศและต่างประเทศที่ผลิตขายโดยมี เรื่องหลากหลายที่เราสามารถเลือกได้ แต่ในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานและหลายบริษัท ได้จัดทำเป็น อินเตอร์เน็ต (Internet) ซึ่งเราสามารถเลือกใช้ได้โดยไม่ต้องใช้ดิสค์อย่างที่เราใช้กันอยู่การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์เดิมมาจากการพัฒนาในรูปข้อความมาขยายสู่การมีภาพ มีเสียง เช่น โทรทัศน์ ความแตกต่างของ โทรทัศน์ กับ สื่อผสม ต่างกันตรงที่การเรียนจากโทรทัศน์เป็นการเรียนแบบรับ (Passive) ขณะที่เรียนจากสื่อผสมคอมพิวเตอร์เป็นการเรียนแบบตอบโต้ (active) ที่เด็กสามารถมีปฏิกิริยาตอบโต้ได้ในขณะเรียน ซึ่งการเรียนกับโทรทัศน์เด็กจะเป็นฝ่ายรับอย่างเดียวไม่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ได้ ดังนั้นการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive learning) มีความสำคัญมากเด็กจะเรียนรู้ ได้สนุกกว่าโทรทัศน์ และเด็กสามารถควบคุมการเรียนรู้ในขณะที่เรียนได้ด้วย ซึ่งเป็นการกระตุ้นทำให้เกิดการอยากรู้อยากเห็น อีกประการหนึ่งของการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนคือ บทเรียนที่กำหนด มีความยากง่ายเหมาะกับเด็กที่จะเรียน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เด็กยากเรียน และกระตือรือร้นที่จะเรียน เพราะเด็กสามารถเรียนรู้เพิ่มขึ้น และเด็กสามารถเลือกเรียนด้วยตนเองตามความสนใจ ด้วยลักษณะนี้ ทำให้การเรียนด้วยคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งท้าทายสำหรับเด็ก องค์ประกอบที่สอดแทรกมาในคอมพิวเตอร์ คือการสร้างจินตนาการในเด็ก ด้วยภาพจากคอมพิวเตอร์มีการเคลื่อนไหว เด็กจะรับรู้และตอบสนอง ได้ดีกว่าภาพนิ่ง อย่างไรก็ตามซอฟแวร์ทางการศึกษาที่ดีต้องสนุกสนาน ด้วยเหตุนี้จึงต้องสนุกสนาน ร่วมกันกับการเสริมสร้างปัญญาให้กับเด็กด้วย และมีหลายบริษัทที่จัดทำซอฟแวร์ทางการศึกษา สำหรับเด็กที่สามารถศึกษาได้ในลักษณะดังกล่าว อาทิเช่น Electronic story book เป็นหนังสือนิทานอย่างหนึ่ง ที่มีทั้งเรื่องเล่า และมีภาพเคลื่อนไหว เรียกได้ว่าเป็นหนังสือที่มีชีวิตชีวา สำหรับระเทศไทยการผลิตคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนมีทั้งที่เป็นนิทาน โปรแกรมการสอนคณิตศาสตร์ การสอนทักษะทางภาษา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษ การรู้จัก รูปร่างสี การวาดรูป เป็นต้น หลักการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียน 1. ผู้ปกครองหรือครูต้องเลือกสิ่งที่เป็นการศึกษาจริงๆแล้วจัดให้กับเด็ก เพราะว่าเด็กในวัยนี้เป็นช่วงที่กำลังอยากรู้ อยากเห็น แล้วยิ่งสื่อทางคอมพิวเตอร์ก็จะมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ถ้าเด็กไปเจอสิอด้านบวกก็ดีไป แต่เมื่อใดที่เด็กไปเจอสื่อทางด้านลบอาทิ เกมส์ที่สื่อไปในทางรุนแรง ลามก สิ่งพวกนี้ก็จะค่อยๆซึมซับลงสู่พฤติกรรมของเด็ก จนละทิ่งภาระหน้าที่ของตนเอง ด้วยเหตุนี้คุณครูหรือผู้ปกครองจึงควรช่วยคัดกรองสื่อให้กับเด็ก 2. เด็กแยกตัวไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพราะเด็กสามารถพึ่งคอมพิวเตอร็ได้เรียนจาก คอมพิวเตอร์ได้ มุ่งอยู่กับคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นเช่นนี้เด็กจะเป็นคน เก็บตัวไม่เข้ากับสังคม บางคนก็จะไม่สนใจผู้อื่นปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ได้ด้วยการจัดสภาพแวดล้อม ในการจัดวางคอมพิวเตอร์ ต้องให้ดี นับแต่ โต๊ะ เก้าอี้ และเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต้องจัดวางให้เหมาะกับ สภาพร่างกายของเด็กไม่ว่าจะเป็นการจัดที่บ้าน หรือที่โรงเรียนอีกประการหนึ่งการใช้คอมพิวเตอร์ 3. ควรใช้ในการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative learning)เพื่อลด ปัญหาการ แยกตัวของเด็ก ครูควรจัดให้เด็กมีกิจกรรมแบบร่วมมือในขณะเรียนด้วยจะช่วยแก้ปัญหาการแยกตัว จากสังคมเป็นอย่างดี อีกทั้งควรมีการสอนจรรยามารยาทการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันไป ทั้งนี้ให้รวมถึงการใช้อินเทอร์เน็ตก็จะต้องมีจรรยามารยาทด้วย 4. สภาพแวดล้อมภายนอกควรจัดกิจกรรมเสริมนอกจอด้วยกิจกรรมต่างๆที่ครูควรจัดขึ้น เพราะการใช้คอมพิวเตอร์จะฝึกได้ เฉพาะบางเรื่องเท่านั้น ข้อสำคัญ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเสริมกิจกรรมและหลักสูตร ไม่ใช่สิ่งทดแทน การเรียนการสอนทั้งหมดของครูตัวอย่างเช่นการดูโทรทัศน์เราก็มีปัญหาว่าเด็กได้อะไรจากโทรทัศน์ซึ่งถ้าให้ดีต้องมีผู้ใหญ่ดูแลด้วย และแนะนำขณะดูเช่นกัน กับ คอมพิวเตอร์ที่ผู้ใหญ่ต้องอยู่ดูและสนทนา ร่วมกับเด็ก นับตั้งแต่เลือกซอร์ฟแวร์ที่ดีให้กับเด็กตรงกับจุดประสงค์ของการเรียนที่แท้จริงครู ผู้ปกครองยังต้องเป็นผู้แนะแนวอยู่เสมอ นอกจากนี้เด็กควรได้รับประสบการณ์อื่นๆด้วย คอมพิวเตอร์ได้เฉพาะ 2 มิติ แต่ในชีวิตจริงเด็กต้องมี ปฏิสัมพันธ์กับ 3 มิติ เด็กยังต้องเล่นบล็อค เล่นตัวต่อ ซึ่ง ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กมีคำพูดที่น่าสนใจ คือ Software can help prents see how their kids mind operate ,it like a window to their mind ซึ่งหมายถึงว่า คอมพิวเตอร์คือ หน้าต่างของดวงจิตที่เราสามารถดูใจของเด็กได้จากคอมพิวเตอร์ ถ้าเราศึกษาขณะใช้คอมพิวเตอร์โดยสังเกตพัฒนาการของเด็กเราจะรู้ว่าเด็กคิดอย่างไร วางแผนอย่างไร ซึ่งน่าจะมีการวิจัยว่าเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการคิดอย่างไรกับการใช้คอมพิวเตอร์สิ่งนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ มากอย่างน้อยจะได้คำตอบว่าคอมพิวเตอร์มีผลอย่างไรกับเด็กในแง่ของการคิดเพื่อการจัดการ ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก - ทำให้เด็กได้คิดค้นหาคำตอบด้วยความสนุก เช่น การเรียนคำศัพท์ - ให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น การทดลองฝึกผสมสี โดยไม่เปลืองดินสอสี จากโปรแกรม คอมพิวเตอร์ เป็นต้น แต่มีข้อเสีย คือการใช้ทักษะของมือ - การใช้ภาพ รูปร่าง เด็กสามารถเรียนรู้ถ่ายโยงมาสู่เรื่องใหม่ๆได้ ทำให้การเรียนรู้ต่อเนื่อง ทำให้ ฝึกคิคค้นการแก้ปัญหาได้ดีอย่างไรก็ตามในการฝึกทักษะนี้ครูสามารถเลือกเกมต่างๆที่สามารถฝึก ทักษะเด็กที่ต้องการได้ สรุป 1. การใช้คอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัยควรใช้ในลักษณะเป็นอุปกรณ์การเรียนรู้ไม่ใช่การเป็นการเรียนการใช้คอมพิวเตอร์แบบผู้ใหญ่ เช่น การสร้างโปรแกรมเพื่อแสดงว่าเก่งคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2. การปล่อยให้เด็กอยู่ลำพังกับคอมพิวเตอร์จะเป็นเหตุให้เด็กขาดสติปัญญา เด็กควรได้เรียนมากกว่า การให้เล่นเกม ควรฝึกวินัยเด็กให้รู้ถึงการใช้คอมพิวเตอร์ ควรใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการเสริมการเรียนรู้ในเรื่องที่สนใจเท่านั้น ครูและผู้ปกครองต้องเข้าใจและปลูกฝัง ให้กับเด็กให้ถูกทาง ต้องจำกัดเวลาที่เหมาะกับเด็กในการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์อย่าลืมว่าเด็กต้องพัฒนา ในทุกด้าน การใช้คอมพิวเตอร์ที่ดีครูหรือผู้ปกครองจำเป็นต้องอยู่ด้วยเพื่อให้คำชี้แนะและได้สนทนาร่วมกันเสมอ คนพิการและคนพิการทางการมองเห็น สำหรับผู้พิการทางการมองเห็นที่มีสายตาเลือนราง และตาบอดจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือบางอย่างเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อช่วยในคนสายตาเลือนรางและตาบอด สามารถที่เข้าถึงการใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้ ทั้งที่เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมซอร์ฟแวร์ต่างๆ ตัวอย่างกลุ่มเครื่องมือ 1. กลุ่มคนสายตาเลือนราง สำหรับเครื่องมือที่จะกล่าวถึง จะมีความเหมาะสมเฉพาะบุคคลลเท่านั้น เนื่องจากว่า ระดับในการมองเห็นของผู้ที่มีสายตาเลือนรางแต่ละคนไม่เท่ากัน ดังนี้ Software : - Magnified Display of Computer Screen คือโปรแกรมขยายจอภาพ สำหรับคนสายตาเลือนรางใช้สำหรับขยายขนาดเครื่องมือบนจอภาพคอมพิวเตอร์ ทำให้สะดวกในการใช้งานและการอ่าน - Large Print Production ในซอฟแวร์บางตัวจะมีความสามารถในการตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่และเป็นตัวหนาได้ - Color and Contrast Selection Application ในบางโปรแกรมมีการอนุญาติให้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถปรับแต่งสี ความคมชัด และความสว่างของจอภาพได้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสายตาของแต่ละคน Hardware : - เครื่องขยายภาพและตัวอัษร(CCTV:Closed-Circuit Television) คือ อุปกรณ์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยระบบจอภาพและกล้องที่มีกำลังขยายสูง ทำหน้าที่ขยายรูปภาพหรือตัวอักษรต่างๆ ที่ถูกวางลงบนแผ่นรองใต้กล้อง วัตถุสามารถเลื่อนได้อย่างอิสระ แสดงผลเป็นภาพสี - แผ่นกรองแสง(Glare Protection Screen) ถูกใช้เพื่อช่วยลดความสว่างจ้าเกินไปของแสงบนจอภาพ - จอภาพขนาดใหญ่ที่มีความละเอียดสูง (Large Monitor with High Resolution) เป็นจอภาพขนาดใหญ่และมีความละเอียดที่สูง ทำให้สามารถปรับขนาดตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้นได้ 2. กลุ่มเด็กตาบอด Software : - โปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reading Software) คือโปรแกรมที่ทำการตรวจจับข้อมูลบนหน้าจอ แล้วส่งต่อไปยังเครื่องสังเคราะห์เสียงให้อ่านออกมาเป็นเสียง การทำงานของโปรแกรมอ่านจอภาพนั้น เราสามารถกำหนดให้อ่านข้อมูลเป็นตัวอักษรคำบรรทัด หรือทั้งหน้าจอก็ได้ สำหรับโปรแกรมอ่านภาษาไทย ในปัจจุบันจะใช้โปรแกรมที่เรียกว่า VOCALEYE ซึ่งเป็นการดัดแปลงเอาเครื่องสังเคราะห์เสียงภาษาอังกฤษมาหลอกให้ออกเสียงเป็นอักษรภาษาไทยที่พิมพ์ - โปรแกรมแปลงข้อมูลให้เป็นอักษรเบรลล์ (Braille Translation Software) คือโปรแกรมที่แปลงข้อมูลปกติเป็นอักษรเบรลล์ Hardware : - เครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์ (Braille Display) เป็นเครื่องที่มีลักษณะคล้ายๆค์บอร์ดแต่เล็กกว่า ใช้สำหรับแสดงข้อมูลบนจอภาพ โดยข้อมูลจะปรากฏเป็นแถบปุ่มนูนเล็กๆแทนจุดอักษรเบรลล์ - เครื่องสังเคราะห์เสียง (Speech Synthesizer) เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่นำมาเชื่อมกับโปรแกรมอ่านจอภาพ เพื่อแปลงข้อความบนจอภาพเป็นเสียง โดยวิธีการสังเคราะห์เสียง ปัญหาของการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1. ปัญหาด้านผู้สอน เพราะ ขาดผู้ชำนาญการ 2. ปัญหาด้านอุปกรณ์ เพราะมีราคาแพง 3. ปัญหาในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เพราะมีบางโรงเรียนเท่านั้นที่ได้ลงโปรแกรมอ่านจอภาพ และโปรแกรมสังเคราะห์เสียง ความต้องการในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1. ต้องการให้มีการจัดอบรมให้ครูเกี่ยวกับสื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำหรับคนพิการทางการมองเห็น 2. ต้องการให้ผู้สอนใช้คำสั่งแป้นพิมพ์ แทนการสอนโดยใช้เมาส์เพียงอย่างเดียว 3. ความต้องการให้อุปกรณ์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีราคาไม่แพงจนเกินไป และหาซื้อได้ง่าย 4. มีบริการให้การช่วยเหลือทางเทคนิคใช้งาน ให้สะดวกตรงตามวัตถุประสงค์ สรุป 1. สำหรับโรงเรียนและผู้บริหารโรงเรียน จากการวิจัยพบว่า ทางโรงเรียนและผู้บริหารมองแห็นถึงความสำคัญจึงสนับสนุนให้มีการการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนพิการทางการมองเห็น นอกจากนี้ผู้บริหารโรงเรียนควรที่จะคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง มาสอนนักเรียนหรือจัดส่งครูผู้สอนไปอบรม เพื่อเพิ่มพูนทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ 2. สำหรับครูผู้สอน จากการวิจัยพบว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นมีปัญหาเกี่ยวกับครูผู้สอนเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก เนื่องจากผู้สอนขาดความรู้ และทักษะในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ผู้สอนจึงควรศึกษาวิธีการสอนกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นและให้ความสนใจต่อนักเรียนที่มีความพิการทางการมองเห็นเหมือนนักเรียนทั่วไป เพื่อก่อให้เกิดเจตคติที่ดีต่อนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นและนักเรียนทั่วไป 3. สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ ควรจัดการฝึกอบรม วิธีการใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ ให้แก่คนพิการทางการมองเห็น ครูผู้สอนและบุคลที่สนใจให้มากขึ้น โดยเน้นหลักออกแบบสากล ให้คนพิการสามารถเข้าถึงได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นการลงทุนที่เพิ่มขึ้น แต่คุ้มค่าในระยะยาว การใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์ในระดับอุดมศึกษา 1. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประกอบการเรียนรู้ ซึ่งทำให้ได้เนื้อหาความรู้ที่ทันสมัย สะดวก และเรียนรู้อย่าง สนุกสนานตัวอย่างการใช้งานด้านนี้ได้แก่ - การค้นคว้า สืบค้นข้อมูลความรู้ ข่าวสาร ตำรา บทความ ฯลฯ ทางเครือข่าย อินเทอร์เน็ตหรือจากเว็บ และฐานข้อมูลต่างๆซึ่งเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดมโหฬาร - การพิมพ์รายงาน โครงงาน บทความ ผลการวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ โดยใช้โปรแกรม Microsoft Word - การนำเสนอการบรรยายหรือรายงานโดยใช้ Microsoft Power Point หรือ Freelance Graphics ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งข้อความ ภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟริก ภาพ 3 มิติ ที่มีสีสดใส มีเสียง และการแสดงสถานการณ์จำลอง - การใช้บริการบนเครือข่ายได้แก่ การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) กระดานข่าวออนไลน์ (Web Board) กลุ่มสนทนา (Mailing List) เพื่อส่งงานและติดต่อสื่อสารกับ ผู้สอนและเพื่อนๆ ในชั้นเรียน - การเผยแพร่ผลงานด้านวิชาการทางอินเทอร์เน็ต ฯลฯ 2. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสอนแบบออนไลน์ (Online-Course) หรือการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) ซึ่งการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สถาบันอุดมศึกษาดั่งเดิมเกือบทุกแห่งได้ดำเนินการเช่น - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมี e-Learning เป็นแห่งแรกได้จัดสอนด้วย e-Learning สำหรับวิชาพื้นฐาน และมีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (Kasetsart University Network: KULN) เพื่อเชื่อมโยงการเรียนการสอนสำหรับวิชาที่ขาดแคลนผู้สอนไปยังวิทยาเขตต่างๆ ซึ่งเป็กนการโต้ตอบแบบสองทาง รวมทั้งมีโครงการ KUWin (KU Wireless Network) เพื่อสนับสนุนการใช้ IT ของอาจารย์และนักศึกษา - มหาวิทยาลัยมหิดลมีศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี (www.ramacme.org) มี Cybertools for Research (Cybertools.learn.in.th) - มหาวิทยาลัยศิลปากมีการเปิดสอน e-Learning ในหลายคณะ สาขาวิชา และสถาบัน - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมี Web-Based Instruction,CU Flexible Learning ที่นิสิตเข้ามาศึกษารายวิชา เรียนรายบุคคลโดยไม่มีข้อจำกัด - มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมี Web-Based Instruction และ Video on Demand - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมีห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) มี e-Learning และ e-Forum - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีการเปิดสอยวิชา Online มากกว่า 200 วิชา (http://202.28.249.241/%7ekc/firstpage) - มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีโครงการส่งเสริมการผลิตเอกสารชุดการเรียนสรุปเนื้อหารายวิชาในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 96 วิชา (http://ilti.kku.ac.th#/webcounter/index.php) - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มี Virtual Classroom ขยายไปยัง 4 วิทยาเขต ที่จังหวัดภูเก็ต ปัตตานี ตรัง และสุราษฎร์ธานี (ทิพาพร พิมพิสุทธิ์ 2548,8) - มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีการใช้ IT มาก เพราะจัดการศึกษาทางไกลด้วย จึงจัดทำ e-Learning, e-Book, RU Cyber Classroom ซึ่งเป็นการถ่ายทอดการบรรยายสดจากห้องเรียน ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับนักศึษาปริญญาตรีภูมิภาค มี Internet-Based Learning ซึ่งเป็นการเรียนเสริมในกรณีที่นักศึกษาไม่สามารถมาเรียนได้ตามปกติ/ตามกำหนด หรือต้องการทบทวน มี RU Community Instruction System ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบล มีการสอนภาษาไทย (Study Thai) ฟรีสำหรับชาวต่างชาติ รวมทั้งอาหารไทยออนไลน์ (Thai Cuisine Online) ด้วย ฯลฯ สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏมี E-Learning ในหลายสถาบันเช่นกัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ฯลฯ สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลก็เช่นกัน สำหรับสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ และก่อตั้งมานาน ส่วนมากมี E-Learning ทั้งสิ้น เช่น มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยศรีประทุม มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฯลฯ โดยทั่วไป การจัดทำ E-Learning ของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆมีการจัดหลากหลายรูปแบบ มีทั้งจัดทำเฉพาะวิชาพื้นฐาน หรือเนื้อหาบางส่วนเพื่อประการเรียน หรือเนื้อหาทั้งหมดของวิชานั้นๆ หรือเป็นการสรุปเนื้อหา และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองรายบุคคล เพื่อเป็นการสรุปเนื้อหา และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองรายบุคคล เพื่อการศึกษาทางไกล เพื่อการเรียนเสริมในกรณีที่มาเรียนไม่ได้ เพื่อการเรียนซ่อมเสริมในกรณีที่สอบไม่ผ่าน และเพื่อการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม 3. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานสอนในลักษณะต่างๆ ซึ่งมีการใช้หลายรูปแบบดังนี้ - การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) หรือ มัลติมิเดียซีดีรอมเพื่อการศึกษา - การใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์หนังสือ ตำรา คู่มือ เอกสาร ประกอบการสอน รวมทั้งผลิตเอกสาร - การใช้คอมพิวเตอร์จัดการสอน (Computer-Managed Instruction : CMI) วัดและประเมินผลผู้เรียน ตรวจข้อสอบ คำนวณคะแนนและตัดเกรด - การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำวิจัย วิเคราะข้อมูล ฯลฯ นอกจากนั้นมีการใช้เพื่อการบริการต่างๆ สำหรับนักศึกษาเช่น การลงทะเบียน การประกาศผลสอบ การแจ้งข่าวสาร การบริการห้องสมุด การบริการที่พัก และสวัสดิการอื่นๆ ปัญหาในการใช้และแนวทางแก้ไข 1. งบปะมาณไม่พอเพียง ต้องรองบประมาณปีต่อๆไป ซึ่งกวาจะได้เงินมา บางครั้งเครื่องมือที่มีอยู่ก็ล้าสมัย แนวทางแก้ไข คือ ควรมีการวางแผนด้านการจัดหางบประมาณเพื่อการพัฒนาด้านนี้ให้ดี และรัฐควรส่งเสริมสนับสนุนด้วย 2. ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ต่ำ ทั้งอาจารย์ผู้สอน และผู้เรียนโดยทั่วไป แนวทางแก้ไข คือ ควรจัดอบรมเพิ่มเติมความรู้ด้านนี้แก่อาจารย์และกำหนดเกณฑ์ให้อาจารย์ทุกคนมีความรู้ด้านนี้ รวมทั้งกำหนดเป็นคุณสมบัติในการรับสมัครอาจารย์ใหม่ด้วย สำหรับนักศึกษาควรกำหนดเป็นรายวิชาให้เรียนในหลักสูตร และให้ได้ผลจริง 3. ความสามารถในการผลิตเทคโนโลยีด้านนี้ยังมีน้อย แนวทางแก้ไข คือ สร้างลักษณะนิสัยให้ผู้เรียนรุ่นใหม่ในทุกระดับมีใจรักการค้นคว้า ใฝ่รู้และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ 4. ขาดแคลนบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แนวทางแก้ไข คือ สถาบันอุดมศึกษาควรเร่งผลิตบัณฑิตสาขาวิชาที่ขาดแคลน และในระยะแรก ควรลงทุนด้านการนำเข้าอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ 5. ซอฟต์แวร์เพื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพยังมีน้อย รวมทั้งเว็บไซต์ต่างๆด้วย แนวทางแก้ไข คือ สถาบันอุดมศึกษาควรเร่งผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนาซอฟแวร์ 6. ความรู้ภาษาอังกฤษมีข้อจำกัด ทำให้ไม่สามารถสืบค้น หรือรับความรู้จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มที่ แนวทางแก้ไข คือ พัฒนาความรู้ภาษาอังกฤษของบุคลากรทุกฝ่ายรวมทั้งอาจารย์และนักศึกษาให้สื่อสารได้ดี 7. องค์ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ของเอกชน เจริญก้าวหน้ามากกว่าของสถาบันอุดมศึกษา แนวทางแก้ไข คือ สถาบันควรลงทุนทำวิจัยในด้านนี้ให้มากยิ่งขึ้นโดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจเอกชน 8. โอกาสและการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ และอินเทอร์เน็ตยังไม่เท่าเทียมกันระหว่างคนกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัด แนวทางแก้ไข คือ จัดให้มีโครงสร้างทางโทรคมนาคมให้ทั่วถึงและราคาถูก การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้นั้น แม้จะมีอุปสรรคหลายประการ แต่เราก็ไม่สามารถต้านเทคโนโลยีนี้ได้ เพราะเทคโนโลยีด้านนี้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้งและรวดเร็วมาก ดังนั้นสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ จึงต้องมีการบริหารและจัดการการใช้เทคโนโลยีให้ได้มีประสิทธิภาพ สูงสุด เพราะเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนั้น อาจให้ผลดีกับคนหลาย ๆ คน และก็เป็นผลร้ายกับอีก หลาย ๆ คน ขอขอบคุณบทความวิชาการ นำโชค ชัยสิงหาร ดร.ภาวิไล นาควงษ์ บรรณานุกรม - นำโชค ชัยสิงหาร; บทความวิชาการเรื่องการวิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตร์สำหรับนักเรียนพิการทางการมองเห็น กรณีเรียนร่วมระดับมัธยมศึกษา; สาร Nectec (ศุนย์เทคโนโลยีอิเลคทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ); ปีที่ 11; ฉบับที่ 57 (มีนาคม-เมษายน 2547) - ดร.ภาวิไล นาควงษ์; บทความความวิชาการ การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยในปัจจุบัน; วารสารรามคำแหง; ปีที่22; ฉบับที่4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2548) - บทความวิชาการ เด็กปฐมวัยกับคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

http://learners.in.th/blog/meaw11/info

ไม่มีความคิดเห็น: