วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

โปรแกรมภาษาจีน


ทำไมโปรแกรมภาษาจีน Chinese Plus จึงดีที่สุด สำหรับคุณ
ความหลากหลายในการพิมพ์: ผู้ใช้สามารถเลือกรูปแบบการพิมพ์ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแบบพินอิน จู้อิน อู๋ปี่ หรือชางเจี๋ย ซึ่งรองรับการพิมพ์ได้ทั้งในรูปแบบตัวอักษร กลุ่มคำและประโยค
นอกจากนี้เราขอแนะนำการพิมพ์แบบใหม่ล่าสุด English-Chinese เพียงผู้ใช้พิมพ์คำภาษาอังกฤษที่ต้องการทราบลงไป ระบบจะแสดงคำภาษาจีน ที่มีความหมายเหมือนกันขึ้นมาให้เลือกทันที ซึ่งเป็นการเรียนรู้
และเพิ่มพูนคำศัพท์ภาษาจีน ให้แก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
Bider Pinyin: รูปแบบการพิมพ์ที่พัฒนาโดยบริษัท Bider ซึ่งอำนวยความสะดวกในการพิมพ์ให้แก่ผู้ใช้เป็นอย่างมาก เช่น การพิมพ์/เพิ่มประโยค วลีต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว, การจดจำคำที่ใช้บ่อย, การยอมรับพินอินที่ผิดพลาด ฯลฯ
Stroke Star: ผู้ใช้สามารถเรียนรู้วิธีการเขียนอักษรภาษาจีนทั้งตัวเต็มและตัวย่อที่ใช้บ่อยกว่า 4,000 ตัว ด้วยโปรแกรมภาพเคลื่อนไหวที่แสดงลำดับและทิศทางของขีดแต่ละขีดอย่างเป็นขั้นตอน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับ ผู้เริ่มเรียนภาษาจีนเบื้องต้น ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
Hanyu Pinyin Convertor: โปรแกรมสามารถเพิ่มเติมตัว Pinyin ไปยังตำแหน่งที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างอัตโนมัติ ถูกต้อง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ที่ทำงานด้านภาษาจีน (สามารถเพิ่มตัว Pinyin จำนวน 5,000 ตัวอักษรจีน ภายใน 3 วินาทีเท่านั้น และสามารถวิเคราะห์อักษรที่มีเสียงอ่านหลายเสียง ได้จากบริบท ของข้อความ)
TH-OCR: ผู้ใช้สามารถใช้ TH-OCR (โปรแกรมแปลงเอกสารบนกระดาษมาเป็นเอกสารที่สามารถแก้ไขข้อความต่างๆ ได้บนคอมพิวเตอร์โดยใช้สแกนเนอร์เป็นตัวนำเข้าข้อมูล) ช่วยประหยัดเวลาในการพิมพ์ ซึ่งโปรแกรมสามารถรับรู้ได้ทั้ง ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน, เอกสารสีและรูปภาพ
Document Renovator: โปรแกรมช่วยซ่อมแซมภาษาที่แสดงผลผิดเพี้ยนจากการใช้โปรแกรมรุ่นเก่าให้เป็นภาษาจีนที่ถูก
Chinese Text Converter: การแปลงอักษรสลับระหว่างตัวอักษรตัวเต็มและตัวย่อ และพิเศษด้วยคำสั่ง Word Mapped ซึ่งสามารถแปลงตัวอักษรที่ตัวย่อใช้ตัวเดียวกันแต่ตัวเต็มใช้อักษรต่างกันได้ อีกทั้งแปลงสลับระหว่างคำที่มีความหมายเหมือนกันแต่ใช้ศัพท์ต่างกันของแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน
Character Maker: ผู้ใช้สามารถสร้างและเพิ่มตัวอักษรภาษาจีนที่พบไม่บ่อยและไม่มีในโปรแกรมนี้ได้เองด้วยวิธีง่ายๆ ภายในเวลาอันรวดเร็ว
www.source.co.th/2007/chinese.php

การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อฝึกทักษะทางภาษา

เรียนรู้ภาษาอังกฤษง่ายๆ จากคอมพิวเตอร์ คอลัมน์ ค็อกเทลหลักสูตร
มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดงานเปิดตัว โปรแกรมคอมพิวเตอร์สอนภาษาอังกฤษ Ellis ภายใต้โครงการพัฒนาภาษาอังกฤษให้กับสถาบันอุดมศึกษา ในวันที่ 13 มีนาคม ที่ศูนย์ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ภาคเหนือตอนล่าง ที่บริเวณชั้น 1 อาคารคณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ ม.นเรศวร จ.พิษณุโลก
อาจารย์วัฒนา เชี่ยวสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมและควบคุมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มน. เปิดเผยรายละเอียดของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สอนภาษาอังกฤษ Ellis ว่า สืบเนื่องจาก ม.นเรศวร ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ประกอบกับเพื่อไม่ให้ภาษาอังกฤษเป็นเรื่องยากต่อการเรียนรู้อีกต่อไป จึงได้ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษขึ้น เพื่อพัฒนาทักษะและสร้างมาตรฐานการใช้ภาษาอังกฤษให้แก่นิสิตและบุคลากรใน มน. ตลอดจนถึงผู้สนใจทั่วไปให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยได้รับการสนับสนุนสื่อโปรแกรมการสอนภาษาอังกฤษ Ellis จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ELLIS ACADEMIC SERIES และ ELLIS BUSINESS SERIES สำหรับใช้เป็นสื่อในการเรียน นอกเหนือจากการเข้าเรียนในชั้นเรียน
ตัวโปรแกรมการสอนภาษาอังกฤษ Ellis นี้ ผู้เรียนจะสามารถใช้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษได้เทียบเท่ากับการเรียนในชั้นเรียน และสามารถเลือกเรียนเวลาได้ตามสะดวก
ทั้งนี้ ทางศูนย์ฝึกอบรมและควบคุมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มน. ได้จัดสถานที่ไว้ให้บริการที่ห้องให้บริการคอมพิวเตอร์ 315 อาคารศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และจะแนะนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์สอนภาษาอังกฤษและวิธีการใช้งานในวันเปิดตัว โปรแกรมคอมพิวเตอร์สอนภาษาอังกฤษ Ellis วันที่ 13 มีนาคม เวลา 09.30-11.00 น.
ใครสนใจสำรองที่นั่งหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส ศูนย์ฝึกอบรมและควบคุมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มน. โทร.0-5526-1000-4 ต่อ 1512, 1590

http://news.sanook.com/education/education_107285.php

การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากครอบคลุมงานทุกด้านของสถาบันศึกษาตั้งแต่การบริหาร จัดการ หลักสูตรและการเรียนการสอน การรู้จักใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้องและเหมาะสมนั้นมีผลเป็นอันมากที่จะช่วยพัฒนาคน สังคม และประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้า ซึ่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ดีต่อการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร ใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เราทำงานได้รวดเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าประเทศใดจะพัฒนาและเจริญก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด ในสังคมของทุกประเทศก็ยังคงประกอบด้วยประชากรที่มีความหลากหลายแตกต่างกันออกไป ทั้งที่มีคุณภาพดีและที่ด้อยคุณภาพ ที่มีความสมบูรณ์และที่บกพร่องทางร่างกายและจิตใจ และสติปัญญา บุคคลที่มีบกพร่องเหล่านี้ เราเรียกว่าคนพิการ ซึ่งเป็นบุคคลที่ด้อยโอกาสทางสังคม เนื่องจากพวกเขามักจะถูกกีดกันออกจากสังคม ต้องคอยเก็บตัวหลบหน้าสังคม เป็นคนไร้ความสามารถไม่มีประโยชน์ เพราะพวกเขาไม่เหมือนกับคนทั่วไป แต่มีใครรู้บ้างว่าบุคคลเหล่านี้ อยากจะทำประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ และคนเหล่านี้ก็สามารถที่จะเรียนรู้ในเรื่องต่างๆได้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก็เป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้ ทำให้พวกเขามีการพัฒนาความสามารถที่จะทำสิ่งต่างๆ ได้เหมือนคนทั่วไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้เข้าใจในตัวเขา ซึ่งจะทำให้เขามีกำลังใจ มีแรงบันดาลใจให้เขาดำเนินชีวิตอยู่ต่อไป และบุคคลเหล่านี้ก็จะมีความสามารถต่อสังคมและประเทศชาติ มีประโยชน์เหมือคนอื่นๆ ซึ่งเทคโนโลยีมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพราะถือว่าเป็นสิ่งที่จะช่วยในการพัฒนา เพราะใช้ในการฝึกฝนและเรียนรู้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้และทำประโยชน์ต่างๆ กันอย่างแพร่หลายซึ่งถือว่าเป็นผลดีอย่ามากต่อการพัฒนาของบุคคลและสังคมในปัจจุบัน เด็กปฐมวัย การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน ประเทศไทยได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสอนเป็นเวลานานพอสมควร ในยุคแรกของการใช้ คอมพิวเตอร์กับเด็กนั้นยังไม่เป็นที่นิยมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ยังเป็นการแสดงออกเฉพาะที่เป็นตัวหนังสือ บางโปรแกรมอาจมีภาพกราฟฟิค ประกอบบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่น่าสนใจแม้ในต่างประเทศ ก็ไม่นิยมต่อมา เมื่อฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์พัฒนามากขึ้น จึงเป็นที่นิยมโดยแพร่หลาย คอมพิวเตอร์ สำหรับเด็กปฐมวัยจะมีซอฟแวร์ที่เรียกว่า “Edutainment มาจากคำว่า Education (การศึกษา) บวกกับคำว่า Entertainment (ความบันเทิง)” ซอฟแวร์แบบนี้เมื่อเวลาเด็กใช้เรียน เด็กจะได้ทั้งการ เรียนรู้กับความบันเทิง ทั้งนี้โดยจุดประสงค์หลักของการผลิตซอฟแวร์สำหรับเด็ก จะไม่เน้นเด็กให้เกิด การเรียนรู้เฉพาะเนื้อหาอย่างเดียวแต่ต้องสนุกกับการเรียนนั้น ด้วยลักษณะของซอฟแวร์ที่เป็นสื่อผสม (Multimedia) หมายถึง การใช้สื่อหลายๆแบบประกอบกันมีทั้งข้อความ (text) ภาพนิ่ง ภาพที่เคลื่อนไหวได้ มีเสียง ในการใช้ซอฟแวร์ที่เป็นสื่อผสมนี้จะต้องมีคอมพิวเตอร์ที่เป็นสื่อผสมด้วย กล่าวคือ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีซีดีรอมไดรฟ์ (CD-Rom drive) และในเครื่องต้องมีที่เล่นเสียง เล่นภาพด้วยนอกจากนี้ซอฟแวร์โดยทั่วไป จะบรรจุอยู่ในแผ่นซีดี หรือ คอมแพคดิส(Compact disc) ซึ่งมีบริษัทหลายบริษัททั้งในประเทศและต่างประเทศที่ผลิตขายโดยมี เรื่องหลากหลายที่เราสามารถเลือกได้ แต่ในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานและหลายบริษัท ได้จัดทำเป็น อินเตอร์เน็ต (Internet) ซึ่งเราสามารถเลือกใช้ได้โดยไม่ต้องใช้ดิสค์อย่างที่เราใช้กันอยู่การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์เดิมมาจากการพัฒนาในรูปข้อความมาขยายสู่การมีภาพ มีเสียง เช่น โทรทัศน์ ความแตกต่างของ โทรทัศน์ กับ สื่อผสม ต่างกันตรงที่การเรียนจากโทรทัศน์เป็นการเรียนแบบรับ (Passive) ขณะที่เรียนจากสื่อผสมคอมพิวเตอร์เป็นการเรียนแบบตอบโต้ (active) ที่เด็กสามารถมีปฏิกิริยาตอบโต้ได้ในขณะเรียน ซึ่งการเรียนกับโทรทัศน์เด็กจะเป็นฝ่ายรับอย่างเดียวไม่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ได้ ดังนั้นการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive learning) มีความสำคัญมากเด็กจะเรียนรู้ ได้สนุกกว่าโทรทัศน์ และเด็กสามารถควบคุมการเรียนรู้ในขณะที่เรียนได้ด้วย ซึ่งเป็นการกระตุ้นทำให้เกิดการอยากรู้อยากเห็น อีกประการหนึ่งของการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนคือ บทเรียนที่กำหนด มีความยากง่ายเหมาะกับเด็กที่จะเรียน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เด็กยากเรียน และกระตือรือร้นที่จะเรียน เพราะเด็กสามารถเรียนรู้เพิ่มขึ้น และเด็กสามารถเลือกเรียนด้วยตนเองตามความสนใจ ด้วยลักษณะนี้ ทำให้การเรียนด้วยคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งท้าทายสำหรับเด็ก องค์ประกอบที่สอดแทรกมาในคอมพิวเตอร์ คือการสร้างจินตนาการในเด็ก ด้วยภาพจากคอมพิวเตอร์มีการเคลื่อนไหว เด็กจะรับรู้และตอบสนอง ได้ดีกว่าภาพนิ่ง อย่างไรก็ตามซอฟแวร์ทางการศึกษาที่ดีต้องสนุกสนาน ด้วยเหตุนี้จึงต้องสนุกสนาน ร่วมกันกับการเสริมสร้างปัญญาให้กับเด็กด้วย และมีหลายบริษัทที่จัดทำซอฟแวร์ทางการศึกษา สำหรับเด็กที่สามารถศึกษาได้ในลักษณะดังกล่าว อาทิเช่น Electronic story book เป็นหนังสือนิทานอย่างหนึ่ง ที่มีทั้งเรื่องเล่า และมีภาพเคลื่อนไหว เรียกได้ว่าเป็นหนังสือที่มีชีวิตชีวา สำหรับระเทศไทยการผลิตคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนมีทั้งที่เป็นนิทาน โปรแกรมการสอนคณิตศาสตร์ การสอนทักษะทางภาษา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษ การรู้จัก รูปร่างสี การวาดรูป เป็นต้น หลักการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียน 1. ผู้ปกครองหรือครูต้องเลือกสิ่งที่เป็นการศึกษาจริงๆแล้วจัดให้กับเด็ก เพราะว่าเด็กในวัยนี้เป็นช่วงที่กำลังอยากรู้ อยากเห็น แล้วยิ่งสื่อทางคอมพิวเตอร์ก็จะมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ถ้าเด็กไปเจอสิอด้านบวกก็ดีไป แต่เมื่อใดที่เด็กไปเจอสื่อทางด้านลบอาทิ เกมส์ที่สื่อไปในทางรุนแรง ลามก สิ่งพวกนี้ก็จะค่อยๆซึมซับลงสู่พฤติกรรมของเด็ก จนละทิ่งภาระหน้าที่ของตนเอง ด้วยเหตุนี้คุณครูหรือผู้ปกครองจึงควรช่วยคัดกรองสื่อให้กับเด็ก 2. เด็กแยกตัวไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพราะเด็กสามารถพึ่งคอมพิวเตอร็ได้เรียนจาก คอมพิวเตอร์ได้ มุ่งอยู่กับคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นเช่นนี้เด็กจะเป็นคน เก็บตัวไม่เข้ากับสังคม บางคนก็จะไม่สนใจผู้อื่นปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ได้ด้วยการจัดสภาพแวดล้อม ในการจัดวางคอมพิวเตอร์ ต้องให้ดี นับแต่ โต๊ะ เก้าอี้ และเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต้องจัดวางให้เหมาะกับ สภาพร่างกายของเด็กไม่ว่าจะเป็นการจัดที่บ้าน หรือที่โรงเรียนอีกประการหนึ่งการใช้คอมพิวเตอร์ 3. ควรใช้ในการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative learning)เพื่อลด ปัญหาการ แยกตัวของเด็ก ครูควรจัดให้เด็กมีกิจกรรมแบบร่วมมือในขณะเรียนด้วยจะช่วยแก้ปัญหาการแยกตัว จากสังคมเป็นอย่างดี อีกทั้งควรมีการสอนจรรยามารยาทการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันไป ทั้งนี้ให้รวมถึงการใช้อินเทอร์เน็ตก็จะต้องมีจรรยามารยาทด้วย 4. สภาพแวดล้อมภายนอกควรจัดกิจกรรมเสริมนอกจอด้วยกิจกรรมต่างๆที่ครูควรจัดขึ้น เพราะการใช้คอมพิวเตอร์จะฝึกได้ เฉพาะบางเรื่องเท่านั้น ข้อสำคัญ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเสริมกิจกรรมและหลักสูตร ไม่ใช่สิ่งทดแทน การเรียนการสอนทั้งหมดของครูตัวอย่างเช่นการดูโทรทัศน์เราก็มีปัญหาว่าเด็กได้อะไรจากโทรทัศน์ซึ่งถ้าให้ดีต้องมีผู้ใหญ่ดูแลด้วย และแนะนำขณะดูเช่นกัน กับ คอมพิวเตอร์ที่ผู้ใหญ่ต้องอยู่ดูและสนทนา ร่วมกับเด็ก นับตั้งแต่เลือกซอร์ฟแวร์ที่ดีให้กับเด็กตรงกับจุดประสงค์ของการเรียนที่แท้จริงครู ผู้ปกครองยังต้องเป็นผู้แนะแนวอยู่เสมอ นอกจากนี้เด็กควรได้รับประสบการณ์อื่นๆด้วย คอมพิวเตอร์ได้เฉพาะ 2 มิติ แต่ในชีวิตจริงเด็กต้องมี ปฏิสัมพันธ์กับ 3 มิติ เด็กยังต้องเล่นบล็อค เล่นตัวต่อ ซึ่ง ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กมีคำพูดที่น่าสนใจ คือ Software can help prents see how their kids mind operate ,it like a window to their mind ซึ่งหมายถึงว่า คอมพิวเตอร์คือ หน้าต่างของดวงจิตที่เราสามารถดูใจของเด็กได้จากคอมพิวเตอร์ ถ้าเราศึกษาขณะใช้คอมพิวเตอร์โดยสังเกตพัฒนาการของเด็กเราจะรู้ว่าเด็กคิดอย่างไร วางแผนอย่างไร ซึ่งน่าจะมีการวิจัยว่าเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการคิดอย่างไรกับการใช้คอมพิวเตอร์สิ่งนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ มากอย่างน้อยจะได้คำตอบว่าคอมพิวเตอร์มีผลอย่างไรกับเด็กในแง่ของการคิดเพื่อการจัดการ ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก - ทำให้เด็กได้คิดค้นหาคำตอบด้วยความสนุก เช่น การเรียนคำศัพท์ - ให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น การทดลองฝึกผสมสี โดยไม่เปลืองดินสอสี จากโปรแกรม คอมพิวเตอร์ เป็นต้น แต่มีข้อเสีย คือการใช้ทักษะของมือ - การใช้ภาพ รูปร่าง เด็กสามารถเรียนรู้ถ่ายโยงมาสู่เรื่องใหม่ๆได้ ทำให้การเรียนรู้ต่อเนื่อง ทำให้ ฝึกคิคค้นการแก้ปัญหาได้ดีอย่างไรก็ตามในการฝึกทักษะนี้ครูสามารถเลือกเกมต่างๆที่สามารถฝึก ทักษะเด็กที่ต้องการได้ สรุป 1. การใช้คอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัยควรใช้ในลักษณะเป็นอุปกรณ์การเรียนรู้ไม่ใช่การเป็นการเรียนการใช้คอมพิวเตอร์แบบผู้ใหญ่ เช่น การสร้างโปรแกรมเพื่อแสดงว่าเก่งคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2. การปล่อยให้เด็กอยู่ลำพังกับคอมพิวเตอร์จะเป็นเหตุให้เด็กขาดสติปัญญา เด็กควรได้เรียนมากกว่า การให้เล่นเกม ควรฝึกวินัยเด็กให้รู้ถึงการใช้คอมพิวเตอร์ ควรใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการเสริมการเรียนรู้ในเรื่องที่สนใจเท่านั้น ครูและผู้ปกครองต้องเข้าใจและปลูกฝัง ให้กับเด็กให้ถูกทาง ต้องจำกัดเวลาที่เหมาะกับเด็กในการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์อย่าลืมว่าเด็กต้องพัฒนา ในทุกด้าน การใช้คอมพิวเตอร์ที่ดีครูหรือผู้ปกครองจำเป็นต้องอยู่ด้วยเพื่อให้คำชี้แนะและได้สนทนาร่วมกันเสมอ คนพิการและคนพิการทางการมองเห็น สำหรับผู้พิการทางการมองเห็นที่มีสายตาเลือนราง และตาบอดจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือบางอย่างเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อช่วยในคนสายตาเลือนรางและตาบอด สามารถที่เข้าถึงการใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้ ทั้งที่เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมซอร์ฟแวร์ต่างๆ ตัวอย่างกลุ่มเครื่องมือ 1. กลุ่มคนสายตาเลือนราง สำหรับเครื่องมือที่จะกล่าวถึง จะมีความเหมาะสมเฉพาะบุคคลลเท่านั้น เนื่องจากว่า ระดับในการมองเห็นของผู้ที่มีสายตาเลือนรางแต่ละคนไม่เท่ากัน ดังนี้ Software : - Magnified Display of Computer Screen คือโปรแกรมขยายจอภาพ สำหรับคนสายตาเลือนรางใช้สำหรับขยายขนาดเครื่องมือบนจอภาพคอมพิวเตอร์ ทำให้สะดวกในการใช้งานและการอ่าน - Large Print Production ในซอฟแวร์บางตัวจะมีความสามารถในการตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่และเป็นตัวหนาได้ - Color and Contrast Selection Application ในบางโปรแกรมมีการอนุญาติให้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถปรับแต่งสี ความคมชัด และความสว่างของจอภาพได้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสายตาของแต่ละคน Hardware : - เครื่องขยายภาพและตัวอัษร(CCTV:Closed-Circuit Television) คือ อุปกรณ์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยระบบจอภาพและกล้องที่มีกำลังขยายสูง ทำหน้าที่ขยายรูปภาพหรือตัวอักษรต่างๆ ที่ถูกวางลงบนแผ่นรองใต้กล้อง วัตถุสามารถเลื่อนได้อย่างอิสระ แสดงผลเป็นภาพสี - แผ่นกรองแสง(Glare Protection Screen) ถูกใช้เพื่อช่วยลดความสว่างจ้าเกินไปของแสงบนจอภาพ - จอภาพขนาดใหญ่ที่มีความละเอียดสูง (Large Monitor with High Resolution) เป็นจอภาพขนาดใหญ่และมีความละเอียดที่สูง ทำให้สามารถปรับขนาดตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้นได้ 2. กลุ่มเด็กตาบอด Software : - โปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reading Software) คือโปรแกรมที่ทำการตรวจจับข้อมูลบนหน้าจอ แล้วส่งต่อไปยังเครื่องสังเคราะห์เสียงให้อ่านออกมาเป็นเสียง การทำงานของโปรแกรมอ่านจอภาพนั้น เราสามารถกำหนดให้อ่านข้อมูลเป็นตัวอักษรคำบรรทัด หรือทั้งหน้าจอก็ได้ สำหรับโปรแกรมอ่านภาษาไทย ในปัจจุบันจะใช้โปรแกรมที่เรียกว่า VOCALEYE ซึ่งเป็นการดัดแปลงเอาเครื่องสังเคราะห์เสียงภาษาอังกฤษมาหลอกให้ออกเสียงเป็นอักษรภาษาไทยที่พิมพ์ - โปรแกรมแปลงข้อมูลให้เป็นอักษรเบรลล์ (Braille Translation Software) คือโปรแกรมที่แปลงข้อมูลปกติเป็นอักษรเบรลล์ Hardware : - เครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์ (Braille Display) เป็นเครื่องที่มีลักษณะคล้ายๆค์บอร์ดแต่เล็กกว่า ใช้สำหรับแสดงข้อมูลบนจอภาพ โดยข้อมูลจะปรากฏเป็นแถบปุ่มนูนเล็กๆแทนจุดอักษรเบรลล์ - เครื่องสังเคราะห์เสียง (Speech Synthesizer) เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่นำมาเชื่อมกับโปรแกรมอ่านจอภาพ เพื่อแปลงข้อความบนจอภาพเป็นเสียง โดยวิธีการสังเคราะห์เสียง ปัญหาของการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1. ปัญหาด้านผู้สอน เพราะ ขาดผู้ชำนาญการ 2. ปัญหาด้านอุปกรณ์ เพราะมีราคาแพง 3. ปัญหาในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เพราะมีบางโรงเรียนเท่านั้นที่ได้ลงโปรแกรมอ่านจอภาพ และโปรแกรมสังเคราะห์เสียง ความต้องการในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1. ต้องการให้มีการจัดอบรมให้ครูเกี่ยวกับสื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำหรับคนพิการทางการมองเห็น 2. ต้องการให้ผู้สอนใช้คำสั่งแป้นพิมพ์ แทนการสอนโดยใช้เมาส์เพียงอย่างเดียว 3. ความต้องการให้อุปกรณ์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีราคาไม่แพงจนเกินไป และหาซื้อได้ง่าย 4. มีบริการให้การช่วยเหลือทางเทคนิคใช้งาน ให้สะดวกตรงตามวัตถุประสงค์ สรุป 1. สำหรับโรงเรียนและผู้บริหารโรงเรียน จากการวิจัยพบว่า ทางโรงเรียนและผู้บริหารมองแห็นถึงความสำคัญจึงสนับสนุนให้มีการการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนพิการทางการมองเห็น นอกจากนี้ผู้บริหารโรงเรียนควรที่จะคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง มาสอนนักเรียนหรือจัดส่งครูผู้สอนไปอบรม เพื่อเพิ่มพูนทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ 2. สำหรับครูผู้สอน จากการวิจัยพบว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นมีปัญหาเกี่ยวกับครูผู้สอนเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก เนื่องจากผู้สอนขาดความรู้ และทักษะในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ผู้สอนจึงควรศึกษาวิธีการสอนกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นและให้ความสนใจต่อนักเรียนที่มีความพิการทางการมองเห็นเหมือนนักเรียนทั่วไป เพื่อก่อให้เกิดเจตคติที่ดีต่อนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นและนักเรียนทั่วไป 3. สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ ควรจัดการฝึกอบรม วิธีการใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ ให้แก่คนพิการทางการมองเห็น ครูผู้สอนและบุคลที่สนใจให้มากขึ้น โดยเน้นหลักออกแบบสากล ให้คนพิการสามารถเข้าถึงได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นการลงทุนที่เพิ่มขึ้น แต่คุ้มค่าในระยะยาว การใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์ในระดับอุดมศึกษา 1. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประกอบการเรียนรู้ ซึ่งทำให้ได้เนื้อหาความรู้ที่ทันสมัย สะดวก และเรียนรู้อย่าง สนุกสนานตัวอย่างการใช้งานด้านนี้ได้แก่ - การค้นคว้า สืบค้นข้อมูลความรู้ ข่าวสาร ตำรา บทความ ฯลฯ ทางเครือข่าย อินเทอร์เน็ตหรือจากเว็บ และฐานข้อมูลต่างๆซึ่งเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดมโหฬาร - การพิมพ์รายงาน โครงงาน บทความ ผลการวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ โดยใช้โปรแกรม Microsoft Word - การนำเสนอการบรรยายหรือรายงานโดยใช้ Microsoft Power Point หรือ Freelance Graphics ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งข้อความ ภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟริก ภาพ 3 มิติ ที่มีสีสดใส มีเสียง และการแสดงสถานการณ์จำลอง - การใช้บริการบนเครือข่ายได้แก่ การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) กระดานข่าวออนไลน์ (Web Board) กลุ่มสนทนา (Mailing List) เพื่อส่งงานและติดต่อสื่อสารกับ ผู้สอนและเพื่อนๆ ในชั้นเรียน - การเผยแพร่ผลงานด้านวิชาการทางอินเทอร์เน็ต ฯลฯ 2. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสอนแบบออนไลน์ (Online-Course) หรือการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) ซึ่งการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สถาบันอุดมศึกษาดั่งเดิมเกือบทุกแห่งได้ดำเนินการเช่น - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมี e-Learning เป็นแห่งแรกได้จัดสอนด้วย e-Learning สำหรับวิชาพื้นฐาน และมีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (Kasetsart University Network: KULN) เพื่อเชื่อมโยงการเรียนการสอนสำหรับวิชาที่ขาดแคลนผู้สอนไปยังวิทยาเขตต่างๆ ซึ่งเป็กนการโต้ตอบแบบสองทาง รวมทั้งมีโครงการ KUWin (KU Wireless Network) เพื่อสนับสนุนการใช้ IT ของอาจารย์และนักศึกษา - มหาวิทยาลัยมหิดลมีศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี (www.ramacme.org) มี Cybertools for Research (Cybertools.learn.in.th) - มหาวิทยาลัยศิลปากมีการเปิดสอน e-Learning ในหลายคณะ สาขาวิชา และสถาบัน - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมี Web-Based Instruction,CU Flexible Learning ที่นิสิตเข้ามาศึกษารายวิชา เรียนรายบุคคลโดยไม่มีข้อจำกัด - มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมี Web-Based Instruction และ Video on Demand - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมีห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) มี e-Learning และ e-Forum - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีการเปิดสอยวิชา Online มากกว่า 200 วิชา (http://202.28.249.241/%7ekc/firstpage) - มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีโครงการส่งเสริมการผลิตเอกสารชุดการเรียนสรุปเนื้อหารายวิชาในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 96 วิชา (http://ilti.kku.ac.th#/webcounter/index.php) - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มี Virtual Classroom ขยายไปยัง 4 วิทยาเขต ที่จังหวัดภูเก็ต ปัตตานี ตรัง และสุราษฎร์ธานี (ทิพาพร พิมพิสุทธิ์ 2548,8) - มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีการใช้ IT มาก เพราะจัดการศึกษาทางไกลด้วย จึงจัดทำ e-Learning, e-Book, RU Cyber Classroom ซึ่งเป็นการถ่ายทอดการบรรยายสดจากห้องเรียน ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับนักศึษาปริญญาตรีภูมิภาค มี Internet-Based Learning ซึ่งเป็นการเรียนเสริมในกรณีที่นักศึกษาไม่สามารถมาเรียนได้ตามปกติ/ตามกำหนด หรือต้องการทบทวน มี RU Community Instruction System ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบล มีการสอนภาษาไทย (Study Thai) ฟรีสำหรับชาวต่างชาติ รวมทั้งอาหารไทยออนไลน์ (Thai Cuisine Online) ด้วย ฯลฯ สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏมี E-Learning ในหลายสถาบันเช่นกัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ฯลฯ สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลก็เช่นกัน สำหรับสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ และก่อตั้งมานาน ส่วนมากมี E-Learning ทั้งสิ้น เช่น มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยศรีประทุม มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฯลฯ โดยทั่วไป การจัดทำ E-Learning ของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆมีการจัดหลากหลายรูปแบบ มีทั้งจัดทำเฉพาะวิชาพื้นฐาน หรือเนื้อหาบางส่วนเพื่อประการเรียน หรือเนื้อหาทั้งหมดของวิชานั้นๆ หรือเป็นการสรุปเนื้อหา และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองรายบุคคล เพื่อเป็นการสรุปเนื้อหา และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองรายบุคคล เพื่อการศึกษาทางไกล เพื่อการเรียนเสริมในกรณีที่มาเรียนไม่ได้ เพื่อการเรียนซ่อมเสริมในกรณีที่สอบไม่ผ่าน และเพื่อการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม 3. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานสอนในลักษณะต่างๆ ซึ่งมีการใช้หลายรูปแบบดังนี้ - การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) หรือ มัลติมิเดียซีดีรอมเพื่อการศึกษา - การใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์หนังสือ ตำรา คู่มือ เอกสาร ประกอบการสอน รวมทั้งผลิตเอกสาร - การใช้คอมพิวเตอร์จัดการสอน (Computer-Managed Instruction : CMI) วัดและประเมินผลผู้เรียน ตรวจข้อสอบ คำนวณคะแนนและตัดเกรด - การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำวิจัย วิเคราะข้อมูล ฯลฯ นอกจากนั้นมีการใช้เพื่อการบริการต่างๆ สำหรับนักศึกษาเช่น การลงทะเบียน การประกาศผลสอบ การแจ้งข่าวสาร การบริการห้องสมุด การบริการที่พัก และสวัสดิการอื่นๆ ปัญหาในการใช้และแนวทางแก้ไข 1. งบปะมาณไม่พอเพียง ต้องรองบประมาณปีต่อๆไป ซึ่งกวาจะได้เงินมา บางครั้งเครื่องมือที่มีอยู่ก็ล้าสมัย แนวทางแก้ไข คือ ควรมีการวางแผนด้านการจัดหางบประมาณเพื่อการพัฒนาด้านนี้ให้ดี และรัฐควรส่งเสริมสนับสนุนด้วย 2. ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ต่ำ ทั้งอาจารย์ผู้สอน และผู้เรียนโดยทั่วไป แนวทางแก้ไข คือ ควรจัดอบรมเพิ่มเติมความรู้ด้านนี้แก่อาจารย์และกำหนดเกณฑ์ให้อาจารย์ทุกคนมีความรู้ด้านนี้ รวมทั้งกำหนดเป็นคุณสมบัติในการรับสมัครอาจารย์ใหม่ด้วย สำหรับนักศึกษาควรกำหนดเป็นรายวิชาให้เรียนในหลักสูตร และให้ได้ผลจริง 3. ความสามารถในการผลิตเทคโนโลยีด้านนี้ยังมีน้อย แนวทางแก้ไข คือ สร้างลักษณะนิสัยให้ผู้เรียนรุ่นใหม่ในทุกระดับมีใจรักการค้นคว้า ใฝ่รู้และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ 4. ขาดแคลนบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แนวทางแก้ไข คือ สถาบันอุดมศึกษาควรเร่งผลิตบัณฑิตสาขาวิชาที่ขาดแคลน และในระยะแรก ควรลงทุนด้านการนำเข้าอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ 5. ซอฟต์แวร์เพื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพยังมีน้อย รวมทั้งเว็บไซต์ต่างๆด้วย แนวทางแก้ไข คือ สถาบันอุดมศึกษาควรเร่งผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนาซอฟแวร์ 6. ความรู้ภาษาอังกฤษมีข้อจำกัด ทำให้ไม่สามารถสืบค้น หรือรับความรู้จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มที่ แนวทางแก้ไข คือ พัฒนาความรู้ภาษาอังกฤษของบุคลากรทุกฝ่ายรวมทั้งอาจารย์และนักศึกษาให้สื่อสารได้ดี 7. องค์ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ของเอกชน เจริญก้าวหน้ามากกว่าของสถาบันอุดมศึกษา แนวทางแก้ไข คือ สถาบันควรลงทุนทำวิจัยในด้านนี้ให้มากยิ่งขึ้นโดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจเอกชน 8. โอกาสและการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ และอินเทอร์เน็ตยังไม่เท่าเทียมกันระหว่างคนกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัด แนวทางแก้ไข คือ จัดให้มีโครงสร้างทางโทรคมนาคมให้ทั่วถึงและราคาถูก การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้นั้น แม้จะมีอุปสรรคหลายประการ แต่เราก็ไม่สามารถต้านเทคโนโลยีนี้ได้ เพราะเทคโนโลยีด้านนี้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้งและรวดเร็วมาก ดังนั้นสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ จึงต้องมีการบริหารและจัดการการใช้เทคโนโลยีให้ได้มีประสิทธิภาพ สูงสุด เพราะเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนั้น อาจให้ผลดีกับคนหลาย ๆ คน และก็เป็นผลร้ายกับอีก หลาย ๆ คน ขอขอบคุณบทความวิชาการ นำโชค ชัยสิงหาร ดร.ภาวิไล นาควงษ์ บรรณานุกรม - นำโชค ชัยสิงหาร; บทความวิชาการเรื่องการวิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตร์สำหรับนักเรียนพิการทางการมองเห็น กรณีเรียนร่วมระดับมัธยมศึกษา; สาร Nectec (ศุนย์เทคโนโลยีอิเลคทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ); ปีที่ 11; ฉบับที่ 57 (มีนาคม-เมษายน 2547) - ดร.ภาวิไล นาควงษ์; บทความความวิชาการ การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยในปัจจุบัน; วารสารรามคำแหง; ปีที่22; ฉบับที่4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2548) - บทความวิชาการ เด็กปฐมวัยกับคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

http://learners.in.th/blog/meaw11/info

โปรแกรมฝึกหัดพิมพ์ดีดไทย/อังกฤษ



BCC Typing Tutor (โปรแกรมฝึกหัดพิมพ์ดีดไทย/อังกฤษ) :
เป็นโปรแกรมสำหรับฝึกหัดพิมพ์ดีดอีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจ สามารถใช้ฝึกได้ทั้งพิมพ์ดีดภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีแบบฝึกให้เรียนหลายบน และยังสามารถสรางแบบฝึกขึ้นมาใช้เองได้อีกด้วย ระหว่างฝึกจะมีคำแนะนำและเก็บสถิติการพิมพ์ของเราอีกด้วย ......
NotE : โปรแกรมนี้เป็น FreeWare ท่านสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

โปรแกรมภาษาจีน


Learn Chinese Characters Volume 1B

โปรแกรมสอนการเขียน ภาษาจีน และการอ่านน่าสนใจมากครับ สำหรับคนที่กำลังศึกษาภาษาจีน
Learn Chinese Characters (LCC) is a multimedia learning program which teaches you reading and writing Chinese characters.
For each character entry, it gives the English definitions, Pinyin and Zhuyin annotations, cross reference of simplified/traditional character, radical, number of strokes (excluding the radical), word examples and definitions.
You can also hear the character pronounced (Mandarin) through the speaker and see an animation of the writing. LCC runs on IBM compatible PC with Windows 3.1 or higher.เรียนภาษาจีน